แชร์

3 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ที่คุณต้องระวัง!

110 ผู้เข้าชม

        ช่วงนี้มีแต่ข่าวคราวการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก บางกรณีส่งผลให้มีผู้เสียหายมากกว่าพันราย มูลค่าความเสียหายรวมมากกว่าพันล้านบาทซึ่งกลอุบายในการหลอกลวงของมิจฉาชีพเดี๋ยวนี้ก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการหลอกลวงในรูปแบบออนไลน์ หากประชาชนอย่างเรา รู้ไม่เท่าทัน ก็อาจตกเป็นเหยื่อให้สูญเงินและทรัพย์สินได้

        ข้อมูลจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่าในช่วงวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มีรายงานการก่ออาชญากรรมออนไลน์หลายคดีหลอกลวงผู้เสียหายสูญเงินหลายล้านบาท เพื่อเป็นการเตือนภัยไปยังทุกท่าน เราจึงขอสรุปมาให้ โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. หลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
            รูปแบบกลโกง คือ มิจฉาชีพเผยแพร่โฆษณาเชิญชวนเทรดหุ้นผ่านช่องทาง Facebook เมื่อผู้เสียหายทักเพิ่มเพื่อนทาง Line เข้ามาสอบถามรายละเอียด มิจฉาชีพจะแนะนำขั้นตอนวิธีการเทรดหุ้นและให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้าระบบ ซึ่งในช่วงแรกผู้เสียหายจะสามารถถอนเงินจากระบบได้ แต่เมื่อผู้เสียหายโอนเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะไม่สามารถถอนเงินได้ในที่สุด
  2. หลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ
            รูปแบบกลโกง คือ มิจฉาชีพเผยแพร่โฆษณาเชิญชวนทำงานหารายได้พิเศษจากการรีวิวสินค้าผ่านช่องทาง Facebook และ Tiktok เมื่อผู้เสียหายทักเพิ่มเพื่อนทาง Line เข้ามาสอบถามรายละเอียด จะดึงผู้เสียหายเข้า Group Line โดยจะให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้าในระบบก่อนโดยระบุว่าจะได้รับคืนภายหลัง ซึ่งในระยะแรกผู้เสียหายจะได้ผลตอบแทนจริง จากนั้นจะให้ผู้เสียหายลงทุนราคาสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ไหวและ
    ต้องการยกเลิก ถึงตอนนั้นมิจฉาชีพจะอ้างว่าทำผิดกฎทางบริษัทจะต้องชำระค่าปรับและเสียค่าภาษีสินค้าทั้งหมด
  3. ข่มขู่ทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center)
            รูปแบบกลโกง คือ ผู้เสียหายได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพผ่านทางโทรศัพท์แจ้งชื่อและข้อมูลตรงกับผู้เสียหาย พร้อมระบุว่าได้กระทำความผิดทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะมีเรื่องราวเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นจะโอนสายไปยังอีกคน
    พร้อมอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งผู้เสียหายว่าตรวจสอบพบประวัติการกระทำความผิดทางกฎหมายในข้อหาต่างๆ และหลอกให้โอนเงินจ่ายค่าปรับ เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อจึงตกเป็นเหยื่อในที่สุด

         ซึ่งกลโกงในข้อที่ 3 ถือเป็นกลโกงยอดฮิตที่มิจฉาชีพใช้เป็นอุบายในการหลอกลวงผู้เสียหาย แม้หลายท่านจะทำการติดตั้งแอพลิเคชั่นในการตรวจสอบหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ของมิจฉาชีพไว้แล้ว แต่ก็อย่าเพิ่งวางใจมากเกินไป เพราะอาจมีบางสายที่หลุดรอดเข้ามาหลอกลวงเราได้ เนื่องจากพวกมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมีการอัพเดทเบอร์โทรศัพท์ใหม่อยู่เสมอเช่นกัน

        สหประกันชีวิต ขอให้ทุกท่านยึดหลัก 4 ไม่ ในการป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ คือ 1. ไม่กดลิงก์ 2. ไม่เชื่อ 3. ไม่รีบ และ 4.ไม่โอน ก่อนที่จะทำธุรกรรมใดๆ ด้วยความห่วงใย จาก สหประกันชีวิต

                                                                                                     ข้อมูลจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ (Cookies Policy)
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy